จะกล่าวไป เรามักจะไม่สามารถเก็บเงินออมกันเลย ก็เป็นเพราะเอาแต่ใช้เงินที่ได้มาแบบไม่คิดถึงวันหน้า
มีเท่าไหร่ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ จึงเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเงิน ๆ ทอง ๆ เพื่อจะได้มีแนวทางเก็บออม และวิธีใช้จ่ายเงินอย่างฉลาด โดยเสนอหลากหลายการออมเงิน จะได้ ร่ำรวย เพื่ออนาคต เมื่อเกษียณ หรือลาออกจากงาน
หลักการออมเงิน
คือ เงินที่ได้มาทุก ๆ ครั้ง ต้องมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หลัก ๆ เสมอ ได้แก่
ส่วนที่ 1 เอาไว้ใช้จ่ายประจำวัน
ส่วนที่ 2 เอาไว้ออมให้เป็นเงินก้อน เพื่อการซื้อของที่มีราคาสูง
ส่วนที่ 3 เพื่อเป็นการลงทุนในระยะยาวต่อไป
สูตรคำนวณหาเงินออม
คือ เงินออมที่ควรมีในปัจจุบัน เท่ากับ 1/10 คูณ อายุ คูณ รายได้ทั้งปี
ตัวอย่าง เช่น
ถ้ามีอายุ 30 ปี ทำงานได้เงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท รายได้ทั้งปี เท่ากับ 1.2 แสนบาท
ดังนั้น ควรมีเงินออมเท่ากับ 1/10 คูณ 30 คูณ 1.2 แสนบาท เท่ากับ 3.6 แสนบาท
สำหรับวิธีการออมเงินอย่างง่าย ๆ นั่น คือ
"การออมเงินแบบเพิ่ิมสิบ - ลบสิบ"
วิธีการออมเงินแบบ "เพิ่มสิบ"
คืือ เมื่อไรก็ตามที่ใช้เงินออกไป ก็ให้บวกยอดเงินเพิ่มเข้าไปอีก 10% ซึ่งส่วนที่บวกเพิ่มนั้นก็ให้กันไว้เป็นเงินเก็บ
ตัวอย่าง เช่น
ถ้าต้องการจ่ายเงิน 1 พันบาทเป็นค่าเช่าบ้าน ก็ต้องกันเงินออกมาอีก 100 บาท เพื่อไปฝากธนาคารไว้
หรือถ้าวันนี้ได้ออกไปซื้อของใช้ 100 บาท ก็ต้องกันเงินไว้ 10 บาท เพื่อไปใส่บัญชีเงินออม
สำหรับวิธีการนี้ จะต้องทำไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะใช้จ่ายเงินไปมากน้อยเท่าไร่ก็ตาม
และถ้ามีความแน่วแน่ด้วย หลักการ "เพิ่มสิบ" อยู่เสมอแล้ว ก็สามารถทำให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเก็บเงินได้ เพราะวิธีนี้จะเป็นการบังคับให้ต้องคิดเสมอก่อนที่ควักเงินออกไปจ่าย ว่าต้องเก็บเงินเพิ่มทุกครั้งที่ใช้เงินเพิ่มขึ้นด้วย และด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้เราระมัดระวังในการใช้เงินมากขึ้น
แต่สำหรับบางคนที่ใช้เงินเก่ง และหักห้ามใจในการใช้จ่ายไม่ค่อยอยู่ ลองมาพิจารณาหลักการ "ลบสิบ" ดูบ้าง
วิธีการออมเงินแบบ "ลบสิบ"
คือ การหักเงิน 10% ของเงินเดือนทุกเดือน โดยทันทีที่เงินเดือนออกทุกสิ้นเดือน ก็ให้รีบนำเงินไปฝากธนาคารไว้
วิธีนี้ก็จะช่วยให้สามารถเก็บเงินได้ 10% ของเงินเดือนก่อนที่จะถูกใช้ไป
ตัวอย่าง เช่น
เมื่อได้รับเงินเดือน 1 หมื่นบาท ก็ให้นำไปฝากธนาคาร 1 พันบาททันที แต่ถ้ากลัวว่าจะหักเงินด้วยตัวเองไม่ได้
ก็อาจจะต้องแจ้งให้ธนาคารหรือหน่วยงานที่สังกัดโอนเงินจำนวน 1 พันบาทนั้นไปเก็บไว้ในบัญชีหนึ่งทันทีที่เงินเดือนออก ก็จะทำให้มีเงินเก็บได้อีก 1 พันบาท และก็จะมีเงินเหลือใช้จ่ายอีกถึง 9 พันบาท
อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า 10% ของเงินเดือนที่หักไปเก็บไว้นั้น ไ่ม่ใช่เงินที่เ็ก็บไว้สำหรับฉุกเฉิน หรือ
เพื่อการใช้ในการท่องเที่ยว แต่เป็นเงินที่เก็บไว้ใช้ในอนาคต เวลาที่ไม่ได้ทำงานหรือเกษียณไปแล้ว ดังนั้น จึงต้องไม่ถอนเงินจำนวนนี้ออกมาใช้ก่อนกำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น